sky
บ้านตาดวันนี้

โครงสร้างอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลบ้านตาด

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 ได้แบ่งโครงสร้างของเทศบาลตำบลออกเป็น 2 ส่วน  คือ  สภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี  สำหรับการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเทศบาลแล้วจะมีโครงสร้างเพิ่มขี้นอีกส่วนหนี่ง  คือ  พนักงานเทศบาล

 สภาเทศบาลตำบล

สภาเทศบาลตำบล  ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล  จำนวน 12 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง  คราวละ  4 ปี  สภาเทศบาล มีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่ง  ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล

 ผู้บริหารเทศบาลตำบล

ให้มีผู้บริหารเทศบาลตำบล ประกอบด้วย  นายกเทศมนตรี  คนหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง รองนายกเทศมนตรี  2  คน เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน ซึ่งนายกเทศมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกสภาฯ  ให้ผู้บริหารเป็นผู้ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารงานของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า

 พนักงานเทศบาล

ให้เทศบาลตำบลบ้านตาดมีพนักงานเทศบาลและจัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนราชการต่าง ๆ ตามปริมาณและ  คุณภาพของงานโดยมีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานประจำทั่วไปของเทศบาล สำหรับเทศบาลตำบลบ้านตาด  แบ่งส่วนราชการออก เป็น   6  ส่วน   ดังนี้

  1. สำนักปลัด
  2. กองคลัง
  3. กองช่าง
  4. กองการศึกษา
  5. กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
  6. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล

อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลโดยทั่วไปในขอบเขตที่กว้างที่สุดแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสภาเทศบาลเป็นองค์กรที่มีหน้าที่อย่างน้อย 3 ประการ คือ

  1. กำหนดนโยบายในการให้บริการสาธารณะต่างๆ แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ
  2. อนุมัติงบประมาณประจำปีให้แก่ผู้บริหารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อไป
  3. ควบคุมดูแลการบริหารงานของผู้บริหารให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย   นโยบาย  และเจตนารมย์ของประชาชนในท้องถิ่น

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลโดยละเอียดแล้ว สามารถกำหนดออกได้     3   ประการ คือ

  1. อำนาจในการตราเทศบัญญัติ
  2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร
  3. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการของสภาฯ

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล

เทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2546) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้

มาตรา 50

  • (1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  • (2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
  • (3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  • (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  • (5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  • (6) ให้ราษฏรได้รับการศึกษาอบรม
  • (7) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • (8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • (9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

มาตรา 51

ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้

  • (1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
  • (2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  • (3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือหรือท่าข้าม
  • (4) ให้มีสุสานและณาปนสถาน
  • (5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฏร
  • (6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
  • (7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  • (8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
  • (9) เทศพาณิชย์

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

  1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า
  3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
  5. การสาธารณูปการ
  6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
  7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
  8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  9. การจัดการศึกษา
  10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
  11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  14. การส่งเสริมกีฬา
  15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
  17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  18. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย
  19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
  21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  22. การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ
  24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  25. การผังเมือง
  26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
  27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
  28. การควบคุมอาคาร
  29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  31. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2546 กำหนดไว้แล้วยังกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น

– พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562

– พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535

– พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493

– พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495

– พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

– พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508

– พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510

– พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518

– พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522

– พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

– พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526

– พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528

-พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540