สภาเทศบาลตำบล ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 12 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี สภาเทศบาล มีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่ง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล
โครงสร้างอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลบ้านตาด
ให้มีผู้บริหารเทศบาลตำบล ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี คนหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง รองนายกเทศมนตรี 2 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน ซึ่งนายกเทศมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกสภาฯ ให้ผู้บริหารเป็นผู้ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารงานของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า
ให้เทศบาลตำบลบ้านตาดมีพนักงานเทศบาลและจัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนราชการต่าง ๆ ตามปริมาณและ คุณภาพของงานโดยมีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานประจำทั่วไปของเทศบาล สำหรับเทศบาลตำบลบ้านตาด แบ่งส่วนราชการออก เป็น 6 ส่วน ดังนี้
- สำนักปลัด
- กองคลัง
- กองช่าง
- กองการศึกษา
- กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
- กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลโดยทั่วไปในขอบเขตที่กว้างที่สุดแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสภาเทศบาลเป็นองค์กรที่มีหน้าที่อย่างน้อย 3 ประการ คือ
- กำหนดนโยบายในการให้บริการสาธารณะต่างๆ แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ
- อนุมัติงบประมาณประจำปีให้แก่ผู้บริหารเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อไป
- ควบคุมดูแลการบริหารงานของผู้บริหารให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย นโยบาย และเจตนารมย์ของประชาชนในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลโดยละเอียดแล้ว สามารถกำหนดออกได้ 3 ประการ คือ
- อำนาจในการตราเทศบัญญัติ
- อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร
- อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการของสภาฯ
เทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2546) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
มาตรา 50
- (1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- (2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- (3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
- (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- (5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- (6) ให้ราษฏรได้รับการศึกษาอบรม
- (7) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- (8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- (9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
มาตรา 51
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- (1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- (2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- (3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือหรือท่าข้าม
- (4) ให้มีสุสานและณาปนสถาน
- (5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฏร
- (6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- (7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- (8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- (9) เทศพาณิชย์
- การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
– พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
– พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
– พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495
– พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
– พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
– พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
– พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
– พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
– พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526
– พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528
-พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540